วันแห่งความปลอดภัยของผู้ป่วยโลก

Patient Safety Day

การสนับสนุนวันแห่งความปลอดภัยของผู้ป่วย

การสนับสนุนวันแห่งความปลอดภัยของผู้ป่วย

วันแห่งความปลอดภัยของผู้ป่วยโลก (World Patient Safety Day)เริ่มขึ้นครั้งแรกในปี 2019 โดยองค์การอนามัยโลก เพื่อเสริมสร้างความเข้าใจด้านความปลอดภัยของผู้ป่วยทั่วโลก เพิ่มการมีส่วนร่วมของสาธารณชนเรื่องความปลอดภัยในการดูแลสุขภาพ ส่งเสริมการดำเนินการในระดับโลกและลดอันตรายที่อาจเกิดขึ้นกับผู้ป่วย1

ที่ไบเออร์ เรายึดมั่นในความปลอดภัยและความเป็นอยู่ที่ดีของผู้ป่วยเป็นอันดับแรกซึ่งเป็นหัวใจหลักในการดำเนินงานของเราไม่ใช่เป็นเพียงหน้าที่ นี่คือเหตุผลที่ทำให้เราภาคภูมิใจที่ได้สนับสนุนวันความปลอดภัยผู้ป่วยของโลกมาตั้งแต่ปี 2019 โดยการพัฒนาเครื่องมือที่หลากหลาย ตลอดจนเอกสารและอุปกรณ์ต่าง ๆ เพื่อให้ความรู้อันเกี่ยวเนื่องกับความปลอดภัยของผู้ป่วยแก่สาธารณชน

 ปี 2564


ความปลอดภัยของผู้ป่วยประชากรกลุ่มพิเศษ

ความปลอดภัยของผู้ป่วยประชากรกลุ่มพิเศษ

image- ps special populations

การแพร่ระบาดของโควิด-19 ทำให้ทุกคนคำนึงถึงความปลอดภัยของผู้ป่วยและการตัดสินใจเกี่ยวกับการบริหารจัดการด้านสุขภาพเป็นอันดับต้น ๆ ในทุกๆวัน เราตัดสินใจเรื่องต่าง ๆ จากความเสี่ยงที่เชื่อว่าอาจจะเกิดขึ้นในการได้รับหรือแพร่เชื้อไวรัส การดูแลตนเองและสุขภาพของผู้คนที่อยู่รอบข้าง

สำหรับประชากรกลุ่มพิเศษ เช่น ผู้ที่มีอายุมากกว่า 65 ปี เด็กหรือสตรีที่ตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องดูแลประชากรเหล่านี้เป็นพิเศษ

หากมีข้อมูลแสดงให้เห็นถึงความปลอดภัยยและมีประสิทธิผล2 ของวิธีดังกล่าว อย่างไรก็ตาม ยาทุกชนิดมาพร้อมกับผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้น3 จึงเป็นความรับผิดชอบของแพทย์ผู้สั่งยาและผู้ป่วยที่จะต้องหารือร่วมกันถึงประโยชน์และความเสี่ยงจากการใช้ยา และตัดสินใจเลือกสิ่งที่ดีที่สุดในการรักษาสำหรับผู้ป่วยแต่ละราย

คุณสามารถเรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับผลข้างเคียงในการรักษา ได้ที่นี่ (วิดีโอต่อไปนี้เป็นภาษาอังกฤษเท่านั้น)

 

เรื่องราวของวัคซีนป้องกันโควิด-19 ทำให้เห็นถึงการประเมินประโยชน์เทียบกับความเสี่ยงได้อย่างชัดเจน ในขณะเดียวกันก็ยังต้องคำนึงถึงประชากรกลุ่มพิเศษอีกด้วย

เรื่องราวของวัคซีนป้องกันโควิด-19 ทำให้เห็นถึงการประเมินประโยชน์เทียบกับความเสี่ยงได้อย่างชัดเจน ในขณะเดียวกันก็ยังต้องคำนึงถึงประชากรกลุ่มพิเศษอีกด้วย
image COVID-19 vaccine story

การศึกษาวิจัยวัคซีนป้องกันโควิด-19 ในช่วงแรก ส่วนใหญ่จะทำการศึกษาเฉพาะในผู้ใหญ่ มีประชากรกลุ่มพิเศษเพียงส่วนน้อยที่เข้าร่วมในการศึกษาวิจัย4,5

อย่างไรก็ตาม เนื่องจากผลกระทบของไวรัส เห็นได้ชัดว่าคนที่มีอายุมากกว่า 65 ปี ควรเป็นประชากรกลุ่มแรก ๆ ที่ได้รับการฉีดวัคซีน เนื่องจากข้อมูลด้านประสิทธิภาพและความปลอดภัยของการให้วัคซีนในประชากรในกลุ่มนี้ยังมีจำกัดจึงเป็นเรื่องยากที่จะทำนายถึงประโยชน์และความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นจากการได้รับวัคซีน5

เมื่อวัคซีนดังกล่าวได้รับการรับรองให้ใช้ในผู้ใหญ่ จึงได้มีการนำวัคซีนมาฉีดให้กับผู้ที่มีอายุมากกว่า 65 ปี เนื่องจากพบว่าความเสี่ยงของการเกิดภาวะเจ็บป่วยร้ายแรงจากโควิด-19 ในประชากรกลุ่มนี้มีมากกว่าความเสี่ยงจากผลข้างเคียงของวัคซีน

นอกจากนี้ เมื่อเริ่มพบผลข้างเคียงจากการฉีดวัคซีนชนิดใช้ไวรัสเป็นพาหะให้แก่ประชากรหลายล้านคนทั่วโลก สื่อสาธารณะกลับมุ่งไปที่อันตรายต่อชีวิตที่อาจเกิดขึ้นโดยมิได้พิจารณาถึงบริบทที่เกี่ยวข้องเกี่ยวกับสัดส่วนของประชากรที่เกิดภาวะดังกล่าว6

เพราะเหตุนี้ จึงเกิดความคลาดเคลื่อนระหว่างความเสี่ยงของอันตรายที่เชื่อว่าจะเกิดขึ้นจากการได้รับวัคซีนที่มีการสื่อสารอย่างแพร่หลายในข่าวต่าง ๆ กับความเสี่ยงของการเกิดผลข้างเคียงที่ร้ายแรงที่แท้จริง7

โดยที่ความเสี่ยงที่เชื่อว่าอาจจะเกิดขึ้นของบุคคลสามารถอธิบายได้ด้วยการประเมินด้วยตนเองถึงความน่าจะเป็นในการเกิดเหตุการณ์ที่เป็นอันตราย อย่างไรก็ตาม ความเสี่ยงประเภทนี้อาจแตกต่างจากความเสี่ยงที่แท้จริงซึ่งได้จากการประเมินทางสถิติจากข้อมูลและหลักฐานที่มีอยู่8

คลิกที่นี่เพื่อเรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับวิธีการแปลผลทางสถิติ (วิดีโอต่อไปนี้เป็นภาษาอังกฤษเท่านั้น)

การติดตามข้อมูลด้านประโยชน์กับความเสี่ยงอย่างใกล้ชิด ทำให้หน่วยงานกำกับดูแล เจ้าหน้าที่วิทยาศาสตร์จากหน่วยงานภาครัฐและอุตสาหกรรมยาสามารถสรุปได้ว่าประโยชน์ของวัคซีนในทางสาธารณสุขมีน้ำหนักมากกว่าความเสี่ยงจากผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้นได้ในประชากรทั้งหมด

โปรดรับชมสื่ออินโฟกราฟิกของเราเกี่ยวกับสิ่งที่เราได้เรียนรู้จากวัคซีนป้องกันโรคฝีดาษและความเสี่ยงในการเกิดผลข้างเคียงจากการได้รับวัคซีนป้องกันโควิด-19ที่เชื่อว่าอาจจะเกิดขึ้น

infographic perceived actual risk

 

บทบาทของการเฝ้าระวังความปลอดภัยในการใช้ยาในการการติดตามประโยชน์และความเสี่ยงจากการใช้ยา

บทบาทของการเฝ้าระวังความปลอดภัยในการใช้ยาในการการติดตามประโยชน์และความเสี่ยงจากการใช้ยา
pharmacovigilance in monitoring

ในทุกบริษัทยา ทีมเฝ้าระวังความปลอดภัยในการใช้ยาจะปฏิบัติหน้าที่เพื่อปกป้องความปลอดภัยของผู้ป่วยเพื่อให้แน่ใจว่าประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากการใช้ยามีมากกว่าความเสี่ยง การดำเนินงานดังกล่าวจะทำทั้งในระหว่างการศึกษาวิจัยทางคลินิกซึ่งเป็นขั้นตอนการรักษาถูกประเมินตลอดช่วงอายุของยา แม้ในช่วงหลังจากที่ได้รับการอนุญาตให้ใช้ในการรักษาแล้วก็ตาม

ทีมเฝ้าระวังฯ จะทำหน้าที่ติดตามความปลอดภัยและสมดุลระหว่างประโยชน์กับความเสี่ยงจากการใช้ยาอยู่เสมอ

คลิกที่นี่เพื่อดูวิดีโอเกี่ยวกับการเฝ้าระวังความปลอดภัยในการใช้ยาและสิ่งที่คุณสามารถทำได้เพื่อพัฒนาความปลอดภัยของผู้ป่วย (วิดีโอต่อไปนี้เป็นภาษาอังกฤษเท่านั้น)

 

ความสำคัญของการศึกษาวิจัยยาในประชากรกลุ่มพิเศษ

ความสำคัญของการศึกษาวิจัยยาในประชากรกลุ่มพิเศษ
conducting medical research

การศึกษาวิจัยทางคลินิกมักทำในผู้ใหญ่อายุระหว่าง 18-64 ปี9 นั่นคือเหตุผลว่าทำไมจึงมีข้อจำกัดในการจัดทำข้อมูลด้านความปลอดภัยในประชากรกลุ่มพิเศษ เพราะฉะนั้น ความเสี่ยงของการเกิดผลข้างเคียงในประชากรกลุ่มพิเศษที่อาจเกิดขึ้นมักประมาณการมาจากข้อมูลที่มีอยู่หรือจากประสบการณ์ในการใช้ผลิตภัณฑ์ที่มีลักษณะเดียวกัน10

อย่างไรก็ตาม เนื่องจากความต้องการในการใช้ยาของประชากรกลุ่มพิเศษเหล่านี้อาจแตกต่างจากผู้ใหญ่ การทำการศึกษาวิจัยในประชากรกลุ่มนี้จึงมีความสำคัญ เพื่อค้นหาแนวทางใหม่ ๆ ในการรักษา บริหารจัดการ หรือป้องกันโรค10

 

บริษัทยาทำการศึกษาวิจัยเพื่อตอบโจทย์ความต้องการในการใช้ยาของประชากรกลุ่มพิเศษ

บริษัทยาทำการศึกษาวิจัยเพื่อตอบโจทย์ความต้องการในการใช้ยาของประชากรกลุ่มพิเศษ
the needs of special populations

บริษัทยาได้สร้างสรรค์นวัตกรรมใหม่ ๆ เพื่อค้นหาสูตรการรักษาใหม่ ๆ และจัดทำเอกสารการฝึกอบรมที่ครอบคลุมสำหรับประชากรกลุ่มพิเศษเพื่อให้พวกเขาได้รับประโยชน์จากความก้าวหน้าทางการแพทย์

สามารถเรียนรู้เพิ่มเติมว่าการศึกษาวิจัยนี้สามารถช่วยสร้างนวัตกรรมใหม่ ๆ สำหรับเด็กได้อย่างไร

infographic medicines for children

การพัฒนาตำรับยาใหม่ ๆ


อุตสาหกรรมยาได้ลงทุนในนวัตกรรมยาใหม่เพื่อจัดการกับความต้องการของผู้ป่วย รวมถึงสูตรการรักษาใหม่ ๆ จากการรักษาที่มีอยู่เดิม เช่น ยาน้ำเชื่อมหรือยาเม็ดที่แตกตัวได้เร็วเพื่อให้แน่ใจว่ายาดังกล่าวจะสามารถให้แก่ผู้ป่วยได้อย่างปลอดภัย

ตัวอย่างเช่น บริษัทยาได้พัฒนาผลิตภัณฑ์ยาน้ำพาราเซตามอลสำหรับเด็ก เนื่องจากยาในรูปแบบของยาน้ำสำหรับรับประทานดูน่ากลัวน้อยกว่า ซึ่งมาพร้อมกับคำแนะนำ อุปกรณ์สำหรับให้ยา และกระบอกฉีดยาที่เป็นมิตรกับเด็กและผู้ดูแล

การจัดทำสื่อการเรียนรู้สำหรับผู้ป่วย

อีกวิธีหนึ่งซึ่งบริษัทยาสามารถให้ความช่วยเหลือประชากรกลุ่มพิเศษได้คือการจัดทำสื่อการเรียนรู้เกี่ยวกับโรคหรือยาที่ใช้รักษา

ตัวอย่างเช่น ผู้ป่วยบางราย โดยเฉพาะผู้สูงอายุอาจประสบปัญหาในการกลืนยาเม็ดอันเนื่องมาจากอายุ และความผิดปกติทางร่างกายหรือระบบประสาทของผู้ป่วย11 บริษัทยาสามารถช่วยเหลือผู้ป่วยเหล่านี้ได้โดยการจัดทำสื่อการเรียนรู้เพื่อให้ข้อมูลเกี่ยวเทคนิคที่จะช่วยให้พวกเขารับประทานยาได้ง่ายขึ้น

คลิกที่นี่เพื่อดูวิดีโอคำแนะนำซึ่งจัดทำโดยไบเออร์ เพื่อแบ่งปันเคล็ดลับและเทคนิคต่างๆ ในการแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับการกลืนยา

อีกตัวอย่างหนึ่งคือ เด็กและวัยรุ่นในปัจจุบันมีส่วนเกี่ยวข้องในการตัดสินใจเรื่องสุขภาพของตนเองมากกว่าที่ผ่าน ๆ มา และต้องการที่จะทานยาได้ด้วยตนเองเพื่อขอความช่วยเหลือจากผู้ใหญ่ให้น้อยที่สุด

ดังนั้น จึงเป็นสิ่งสำคัญที่สื่อการเรียนรู้ต้องเหมาะสมกับช่วงอายุ และระบุอย่างชัดเจนว่ายาของพวกเขาอาจไปรบกวนการเรียนและการเล่นกีฬาได้อย่างไร การเกิดปฏิกิริยาต่ออาหารและสารอื่น ๆ ความเสี่ยงจากการแบ่งยาให้เพื่อนใช้ และคำแนะนำเกี่ยวกับการเก็บรักษาและการใช้ยาอย่างถูกต้อง

ตัวอย่างหนึ่งของเรื่องนี้ ได้แก่โรคฮีโมฟีเลีย ซึ่งไบเออร์ได้จัดทำวิดีโอความรู้เพื่อให้ผู้ป่วยสามารถเรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับโรคของพวกเขารวมถึงวิธีการรักษาในแบบต่าง ๆ

คลิกที่นี่เพื่อดูเพิ่มเติม

เพื่อเสริมสร้างความแข็งแกร่งให้ประชากรกลุ่มพิเศษเหล่านี้ในการดูแลสุขภาพตนเองและเข้าถึงนวัตกรรมใหม่ ๆ อุตสาหกรรมยาควรที่จะทำการศึกษาวิจัยในประชากรกลุ่มพิเศษ ดำเนินการเพื่อให้ได้รับอนุญาตขายยาสูตรใหม่ ๆ และการจัดทำสื่อการเรียนรู้ต่างๆ เพื่อช่วยให้ประชากรกลุ่มนี้สามารถบริหารจัดการการรักษาของพวกเขาได้ดีขึ้น

ปี 2563


ความสำคัญของการพูดคุยสนทนาอย่างเปิดเผยและตรงไปตรงมาเกี่ยวกับผลข้างเคียง

ผู้ป่วยที่ปรึกษากับแพทย์ของตนเกี่ยวกับผลข้างเคียงจากการใช้ยามีเพียงส่วนน้อยที่จะหยุดยาก่อนกำหนด12 อย่างไรก็ตาม ยังมีวิธีต่าง ๆ อีกหลายวิธีในการสื่อสารข้อมูลเกี่ยวกับผลข้างเคียงของยาให้ผู้ป่วยได้รับทราบ นอกเหนือจากการเข้ามาปรึกษากับแพทย์ในห้องตรวจ การพัฒนาวิธีการเพื่อช่วยให้ผู้ป่วยสามารถเข้าถึงข้อมูลได้ง่าย มีส่วนร่วมและเป็นข้อมูลที่ให้ประโยชน์มากขึ้น จะช่วยเสริมสร้างความแข็งแกร่งให้กับผู้ป่วยในการพัฒนาคุณภาพของการพูดคุยสนทนาระหว่างผู้ป่วยกับบุคลากรทางการแพทย์ของตนให้ดียิ่งขึ้น

ชุดวิดีโอนี้ถูกจัดทำขึ้นมาจากความร่วมมือของผู้ป่วยสำหรับผู้ป่วย โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสนับสนุนให้ผู้ป่วยสามารถจัดการผลข้างเคียงที่พบบ่อยจากการรักษาโรคมะเร็งได้ด้วยตนเอง และต้องการเพิ่มความแข็งแกร่งให้แก่ผู้ป่วยในการพูดคุยเรื่องผลข้างเคียงจากการใช้ยาที่อาจเกิดขี้นอย่างเปิดเผยและตรงไปตรงมากับแพทย์ของตน รวมถึงมอบคำแนะนำและเคล็ดลับง่าย ๆ ในการจัดการกับปัญหาดังกล่าว

วิดีโอต่อไปนี้เป็นภาษาอังกฤษเท่านั้น

PSD 2020 videos

 

คลิกที่นี่เพื่อดูวิดีโอ

การพูดคุยสนทนาเรื่องผลข้างเคียงและผลกระทบจากการใช้ยาที่มีคุณภาพระหว่างผู้ป่วยและบุคลากรทางการแพทย์ก่อให้เกิดประโยชน์อย่างยิ่งต่อผู้ป่วย ครอบครัวผู้ป่วย ระบบสุขภาพ และพวกเราผู้ซึ่งทุ่มเทคิดค้นและพัฒนายาเพื่อสร้างความแตกต่าง แผนกเฝ้าระวังความปลอดภัยการใช้ยาของไบเออร์ มุ่งมั่นในการสนับสนุนและเสริมสร้างความแข็งแกร่งให้แก่ผู้ป่วยด้วยการใช้ผลิตภัณฑ์ของเราอย่างเหมาะสม

ปี 2562


three curious cases

ความสำคัญของการรายงานผลข้างเคียง

เนื่องจากความปลอดภัยของผู้ป่วยคือหนึ่งในค่านิยมของไบเออร์ การช่วยให้ผู้ป่วยและผู้ดูแลสามารถรายงานผลข้างเคียงจากการใช้ยาจึงมีความสำคัญอย่างยิ่ง

ผู้ป่วยคือแหล่งข้อมูลที่ดีที่สุดที่สามารถเล่าประสบการณ์ว่ายาที่กำลังใช้อยู่ส่งผลอย่างไร โดยเฉพาะอย่างยิ่งเรื่องคุณภาพชีวิตของพวกเขา ผู้ป่วยสามารถมีส่วนร่วมในการสร้างองค์ความรู้โดยรวมด้านความปลอดภัยของยาได้ด้วยการรายงานผลข้างเคียงที่เกิดขึ้นจากการใช้ยา ทำให้บริษัทยาสามารถริเริ่มวิธีการอันส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงเชิงบวกในอนาคต ทำให้บริษัทยาได้เรียนรู้จากประสบการณ์ของผู้ป่วยและสามารถให้คำแนะนำเพื่อเสริมสร้างความแข็งแกร่งในการใช้ยาของคนไข้ได้อย่างเหมาะสมและมีประสิทธิผล การรายงานผลข้างเคียงเหล่านี้ถือเป็นการให้อันประเมินค่ามิได้ เพราะจะช่วยในการคิดค้นยาที่มีข้อบ่งใช้ใหม่ ๆ สามารถรักษาอำนาจการตลาดได้ด้วยการใช้ยาที่มีความปลอดภัยและประสิทธิผล และท้ายที่สุดนั่นคือ ผู้ป่วยสามารถอุทิศสิ่งเหล่านี้เพื่อเป็นประโยชน์จากการรักษาของพวกเขาเอง

ไบเออร์ได้พัฒนา “The Sonifex Mystery: เหตุการณ์แปลกประหลาดสามอย่าง” ซึ่งเป็นเกมออนไลน์ที่มีจุดมุ่งหมายเพื่อให้ความรู้และแจ้งว่าเมื่อไหร่และทำไมจึงควรรายงานผลข้างเคียงจากการใช้ยา โดยที่ผู้เล่นจะเข้าไปสู่โลกแห่งจินตนาการของบ้านพักคนชราโรสวิลล์ สถานที่ซึ่งจะนำไปสู่เหตุการณ์แปลกประหลาดสามอย่างที่ส่งผลกระทบต่อผู้ป่วย ผู้เล่นต้องทำการแก้ปริศนาโดยการเลือกคำตอบที่เหมาะสมที่สุดสำหรับชุดคำถาม เพื่อปกป้องบ้านพักคนชราโรสวิลล์

เกมไม่สามารถใช้งานได้อีกต่อไป


การอ้างอิง

การอ้างอิง

  1. WHO. World Patient Safety Day 2021. สามารถดูได้จาก: https://www.who.int/news-room/events/detail/2021/09/17/default-calendar/world-patient-safety-day-2021. เข้าดูล่าสุด: สิงหาคม 2021
  2. FDA. The FDA’s Drug Review Process: Ensuring Drugs are Safe and Effective. สามารถดูได้จาก: https://www.fda.gov/drugs/information-consumers-and-patients-drugs/fdas-drug-review-process-ensuring-drugs-are-safe-and-effective. เข้าดูล่าสุด: สิงหาคม 2021
  3. NICE. Adverse Reactions to Drugs – Yellow Card Scheme. สามารถดูได้จาก: https://bnf.nice.org.uk/guidance/adverse-reactions-to-drugs.html. Lเข้าดูล่าสุด: สิงหาคม 2021
  4. EMA. COVID-19 Vaccines: Studies for Approval. สามารถดูได้จาก: https://www.ema.europa.eu/en/human-regulatory/overview/public-health-threats/coronavirus-disease-covid-19/treatments-vaccines/vaccines-covid-19/covid-19-vaccines-studies-approval#what-types-of-studies-are-needed-to-approve-a-covid-19-vaccine?-section. เข้าดูล่าสุด: สิงหาคม 2021
  5. Helfand BKI, Webb M, Gartaganis SL, Fuller L, Kwoon C, Inouye SK. (2020). The Exclusion of Older Persons From Vaccine and Treatment Trials for Coronavirus Disease 2019—Missing the Target. JAMA Int Med. 180(11):1546-8.
  6. OECD. OECD Policy Response to Coronavirus (COVID-19): Enhancing public trust in COVID-19 vaccination: The role of governments. สามารถดูได้จาก: https://www.oecd.org/coronavirus/policy-responses/enhancing-public-trust-in-covid-19-vaccination-the-role-of-governments-eae0ec5a/. เข้าดูล่าสุด: สิงหาคม 2021
  7. WIRED. Vaccines are Here. We Have to Talk About Side Effects. สามารถดูได้จาก: https://www.wired.com/story/vaccines-are-here-we-have-to-talk-about-side-effects/. เข้าดูล่าสุด: สิงหาคม 2021
  8. Wolff K, Larsen S, Ogaard T. (2019). How to define and measure risk perceptions. Ann Tour Res. 79. Shenoy P, Harugeri A. (2015). Elderly patients’ participation in clinical trials. Perspect Clin Res. 6(4):184-9.
  9. Shenoy P, Harugeri A. (2015). Elderly patients’ participation in clinical trials. Perspect Clin Res. 6(4):184-9.
  10. Grimsrud KN, Sherwin CMT, Constance JE, Tak C, Zuppa AF, Spigarelli MG, Mihalopoulous NL. (2015). Special population considerations and regulatory affairs for clinical research. Clin Res Regul Aff. 32(2):47-56.
  11. Thiyagalingam S, Kulinski AE, Thorsteinsdottir B, Shindelar KL, Takahashi PY. (2021). Dysphagia in Older Adults.
  12. Bull SA, Hu XH, Hunkeler EM, et al. (2002). Discontinuation of use and switching of antidepressants: influence of patient-physician communication. JAMA. 288(11):1403-9.

 

PP-OTH-ALL-0055-1